วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

อาชีพของคนอีสาน


ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะดินของภาคอีสานเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำและการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ จึงจะพบว่าพอถึงหน้าแล้งประชาชนจะอพยพไปหางานทำต่างถิ่นเป็นจำนวนมาก ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อยเป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก อย่างไรก็ดีในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ขยับขยายไปตั้งยังภาคอีสานมากขึ้น ซึ่งแหล่งซื้อแรงงานจากชาวอีสานแหล่งใหญ่ ทำให้ชาวอีสานไม่ต้องจากถิ่นฐานไปหางานทำต่างถิ่นเหมือนอย่างเคย แต่โรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็เข้ามาพร้อมกับการก่อปัญหาต่างๆมากมายต่อชุมชน ทั้งปัญหามลพิษ ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป และได้ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเดิมๆของชาวอีสานไปอย่างสิ้นเชิง โครงการต่างๆที่รัฐพยายามดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ชาวอีสาน เช่น โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้บ้าง แต่มักจะแก้ไม่ได้มากนักทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่แล้วโครงการต่างๆเหล่านี้จะขาดการช่วยเหลือหรือสนับสนุนที่ต่อเนื่องจากส่วนราชการ เรียกว่าเป็นการดำเนินโครงการตามกระแสมากกว่าที่จะเป็นการดำเนินการอย่างยั่งยืน แต่ยังมีอีกหลายโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีโดยเฉพาะโครงการตามแนวพระราชดำริต่างๆ เช่น โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ โครงการศิลปาชีพ ซึ่งได้พลิกพื้นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการให้ดียิ่งขึ้นควบคู่ไปกับการอนุรักษืวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้

แจ่วบอง

แจ่วหรือ น้ำพริก เป็นอาหารที่ชาวอีสานนิยมรับประทานกัน  เพราะทำได้ง่ายมีเครื่องปรุงไม่มากนัก  แค่มีพริกและปลาร้าในครัวก็สามารถทำแจ่วได้แล้ว  ด้วยความที่ทำได้ง่ายจึงจะพบว่าอาหารของชาวอีสานเกือบทุกมื้อจะต้องมีแจ่วเป็นอาหารหลักๆน่นอน  ชาวอีสานนิยมรับประทานแจ่วกับผักที่เก็บได้จากรั้วบ้าน  หรือกับพวกเนื้อย่าง  ปลาย่าง หรือนึ่ง  ปัจจุบันถึงแม้วิถีชีวิตของชาวอีสานจะเปลี่ยนไปแต่อาหารต่างโดยเฉาะแจ่วไม่ได้เสื่อมความนิยมลงไปเลย  เพราะเหตุนี้เราจึงหาทานแจ่วแบบอีสานได้ทั่วๆไป

เครื่องปรุง 
 
รากผักชี 
ตะไคร้เผาพอหอม
ปลาร้าสับละเอียด
น้ำมันพืช(ไม่ใช้ก็ได้-ใช้น้ำเปล่าแทนได้)
น้ำมะขามเปียก-ข้น 
ข่าเผาซอย 
พริกป่น 
ปลาป่น
น้ำปลา
น้ำตาลทราย 

     ผักสดตามชอบ
วิธีทำ
   1.โขลกรากผักชี ตะไคร้ ข่าให้ละเอียดใส่กระเทียม หอม โขลกต่อให้ละเอียดใส่พริกป่นปลาร้า โขลกต่อให้เข้ากัน
   2. ตั้งกระทะไฟอ่อนใส่น้ำมันพร้อมใส่ส่วนผสมผัดใส่น้ำปลาร้าน้ำ  มะขามเปียกน้ำตาลผัดจนหอมจึงตักขึ้นรับประทานกับผักสดผักนึ่ง ถ้าไม่ชอบปลาร้าใส่น้ำปลาก็ได้

  เคล็ดลับ
    ควรใช้ปลาร้าที่เนื้อแน่นๆ

  คูณค่าทางอาหาร     โปรตีนวิตามินเอ ซี โปรตีน 
%%%%%%%%%
แจ่วบอง

เครื่องปรุง
เนื้อปลาร้า 1/2 ถ้วย


น้ำปลา 1 ช้อนชา
พริกขี้หนูเผา 20 เม็ด
น้ำ 1/2 ถ้วย
มะเขือเทศสีดาเผา 5 ผล
ผักสด เช่น มะเขือต่างๆ ถั่วฝักยาว ผักชีลาว
หอมแดงหั่นคั่ว 3 หัว

ผักชีล้อม ผักชีฝรั่ง กะหล่ำปลี แตงกวา ผักไผ่

น้ำมะขามเปียก 1-2 ช้อนโต๊ะ


การทำลาบปลาดุก

ส่วนผสม
ปลาดุกหนัก 300 กรัม1 ตัว
ข้าวคั่ว2 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น1 ช้อนชา
ข่าโขลกละเอียด1 ช้อนชา
หอมแดงซอย1 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูดหั่นฝอย2 ช้อนชา
ต้นหอมซอย2 ต้น
ใบสะระแหน่1/2 ถ้วย
น้ำมะนาว2-3 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา2 ช้อนโต๊ะ
ผักสด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา

วิธีทำ
1. ขูดเมือกบนผิวปลาดุกออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อ สับหยาบๆ
2. เคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย ใบมะกรูดหั่นฝอย
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอมซอย ชิมรสตามชอบ รับประทานกับผักสด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว

อาหารอีสานส้มตำปูดองอีสาน

มะละกอดิบ 1 ลูก
กระเทียม 5-6 กลีบ
พริกขี้หนู 5-6 เม็ด
มะเขือเทศผ่าครึ่ง 2 ลูก
ถั่วฝักยาวหั่น 1 ฝัก
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว หรือ
น้ำมะขามเปียก 1/4 ถ้วย
น้ำตาลปีป 1 ช้อนโต๊ะ 

ปูดอง 5- 8 ตัว

ภาษาพูดของคนอีสาน

มาดูตัวอย่างคำภาษาอีสานกัน


เพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้   

ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมรสำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนครนครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลยที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่งชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ตราบจนปัจจุบันเช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนมถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นแต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี

ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานครทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้วก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจาก

กะซาง ช่างเถอะ 
กะด้อ กะเดี้ย อะไรกันนักหนา
กินเข่าสวย รับประทานอาหารกลางวัน
เกิบ รองเท้าแตะ
กินดอง เลี้ยงฉลองสมรส กะเลิงเบิ๊บ
ยายเฉิ่ม,คนสติไม่ดี
กะจังว่า ก็นั่นน่ะสิ 
กองอ้วกย้วก ลักษณะคนล้มทรุดตัวลงกองกับพื้น
เกี้ยงตั๊บ หมดเกลี้ยง 
กินข่าวสวย รับประทานอาหารกลางวัน
ข. - - -
ขี้ตั๋ว โกหก,พูดไม่จริง 
ขี้ตะแร้ รักแร้
ขี้หินแฮ หินลูกรัง 
ข่อยกับเจ้า ฉันกับเธอ
ขี้โก๊ะ จิ้งเหลน, จิ๊กโก๋ 
ขี้เกี้ยม จิ้งจก
ขนคิงลุก ขนลุก
ข่อยกั๊บเจ้า ฉันกับเธอ
ขะหยอน มิน่าล่ะ 
ขี้เมี่ยง สนิม
ค. - - 

เคียด โกรธ,งอน คนมะลำมะลอย คนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
คักอีหลี สะใจจริงๆ คนบ่เคียม คนซุ่มซ่าม
คอง(ภาษาอีสานตอนบน) รอคอย เคียม สุภาพเรียบร้อย
เคียด โกรธ คึดฮอด คิดถึง
เคิกกัน คลาดกัน (อีสานตอนบน) 
คำคิง สัมผัส,แตะตามเนื้อดูว่าตัวร้อนหรือไม่
คนมะลำมะลอย คนไม่น่าเชื่อถือ เอาแน่อะไรไม่ได้
คือเก่า เหมือนเดิม
คะมะ หยุดชะงักด้วยเหตุบังเอิญ 
ง. - - -
งานดอง งานแต่งงาน
งานเฮือนดี งานศพ
ไงกุ้ม ฝุ่นตลบ งอนตอ ท้ายทอย (อีสานบน)
งามโพดงามเหลือ งามแท้งามว่า สวยจริงสวยจัง สุดจะพรรณา ง้วกเบิ่ง เหลียวมอง
จ. - - -
เจ้า, ข่อย คุณ, 
ฉัน จี่ ปิ้ง,ย่าง
จักแหล่ว ไม่รู้สิ 
จอบเบิ่ง แอบดู
จอก แก้ว จั๊กกะเดียม จั๊กกะจี้
จาฮีต เป็นคำยืนยันถึงความจริง,แน่นอน 
ใจฮ้าย โกรธ,โมโห
จังได๋ แบบไหน,ยังไง 
จาวขาย ประกาศขาย
แจบใจ มั่นใจ,สนิทใจ 
ใจออก ถอดใจ,ท้อถอย
จือ จำ,เข็ด 
โจงโปง โล่ง,ว่างเปล่า
จาวขาย ประกาศขาย 
จอกน้ำ แก้วน้ำ



ซอกหา ค้นหา,ตามหา 
โซนแซว เอะอะ,เสียงดัง
ซ่า ช้า ซั่นแหล่ว ก็ว่างั้นแหล่ะ
ซะซาย กระจัดกระจาย 
ซุมเข่าแลง สังค์สรรค์มื้อเย็น
ซัง เกลียด ซุ ก้นทะลุ
เซือ เชื่อ 
ซอมใจ ตรอมใจ 
เซาจุ๊ดปุ๊ด หยุดทันที,หายทันควัน
ซอยแน ช่วยด้วย แซวซะ เสียงดัง,อึกกะทึก คึกโครม
ซุมแซว รื่นเริง,สังสรรค์ . .
ด. - - -
ดังไฟ ก่อไฟ 
โดน นาน
ต. - - -
ตะพึดตะพือ ไม่บันยะบันยัง 
ตั้มอิด แรกเริ่ม.เริ่มต้น,ครั้งแรก,ทีแรก
ตาฮัก ตาแพง น่ารัก น่าเอ็นดู แตกวึ่นๆ แตกตื่น
ตังนัง เก้าอี้,ม้านั่ง 
ตะเว็น ดวงอาทิตย์
ตื่น ตกใจ! 
ต้อดเข่ามา ขยับ,กระแซะๆๆๆ เข้ามาซิ
ตำหูก ทอผ้า 
ติงคิง ขยับ, แตะต้องเนื้อตัว
เต้า ประชุม (อีสานตอนบน) 
ตุ้มไว้ รวบรวม
ถ. - - 

ถอกของแหล๋ว เทของเหลว 
ถิ่ม ทิ้ง
โถงเสี่ย กระเป๋าเสื้อ(อีสานใต้) . .
ม. - - -
มัก รัก, ชอบ 
หมากมี่ ขนุน
หมากหุ่ง มะละกอ 
หมากเขียบ น้อยหน่า
มุนอุ้ยปุ้ย แหลกละเอียด 
แมนแท้ จริงแท้แน่นอน
แมนบ่ ใช่ไหม? 
บ่แมน ไม่ใช่
มิดจีลี เงียบสนิท 
มุน แหลกเป็นผุยผง,ละเอียดยิบ
หมู่เฮา กลุ่มเพื่อน 
มืดตึ๊บ มืดแปดด้าน นึกอะไรไม่ออก
มิด เงียบ มาเข่า แช่ข้าวเหนียวเพื่อเตรียมนึ่ง
มีแฮง สดชื่น,กระปรี้กระเปร่า 
แมงงอด แมลงป่อง
เมือย เหนื่อย 
มูลมัง มรดก
มักย่อง บ้ายอ 
มะยิบ มะยอย เล็กๆน้อยๆ นิดๆหน่อยๆ
น. - - -
นำไป ตามไป . .
บ. - - -
บ่ฮู้จักควม ไม่รู้ประสีประสา 
บักหำ คำเรียกเด็กผู้ชาย
บาย จับต้อง,สัมผัส 
บ่หัวซา ไม่ถือสา, ไม่ใส่ใจ
บ่จือ ไม่เข็ด 
เบิ๊ด หมด
บักมี่ ขนุน 
บักเขียบ น้อยหน่า
บักนัด สับปรด

เป่นต่าน๊าย น่าเบื่อหน่าย 
เป็นตางึด น่าฉงน
แปน เอี่ยม,ราบคราบ 
เป่นจั๊งบุญ เดชะบุญ
เป็นตางึ๊ด น่าฉงน 
ปึก โง่,เรียนไม่เก่ง
ปิ้น กลับ,พลิก 
พ. - - -
พอกะเทิน ไม่มากไม่น้อย ครึ่งๆกลางๆ พ่อฮัก แม่ฮัก พ่อแม่บุญธรรม
พยาธิ์ฮ้าย โรคร้าย 
พัดแต่ใด๋ เริ่มแรก,แต่ไหนแต่ไร
พอกำกา ไม่มากไม่น้อย,ครึ่งๆกลางๆ,50:50 
โพดเหลือ เหลือเกิน
ฟ. - - 

ฟ้าว รีบเร่ง . .
ผ. - - -
ผักอีเลิศ ใบชะพลู 
ผู้ข่า ข้าพเจ้า
ย. - - -
ย่าน กลัว 
ยามสวย ตอนสาย
ยางกิ๊นกิน อากัปกิริยาการเดินมุ่งตรงและเร่งด่วน 
ล. - - -
ล่วง ถือวิสาสะ 
เล่าแนเด้อ ขอเรียนเชิญเพื่อร่วมงาน
ลำลี่ ลำไล เซ้าซี้ มากเรื่อง 
ลอยน้ำ ว่ายน้ำ
เลาะบ้าน ตะเวนตามหมู่บ้าน 
ลุนหมู่ ทีหลังเพื่อน
ว. . . .
เหว้าพื้น กล่าวถึง,พูดถึง เหว้าดุ พูดมาก
(เป็นการกล่าวนำของชาวอีสานตอนล่าง) 
เว้ามวนซวนหัว พูดตลกขบขันน่าหัวเราะ . .
ส. - - 

สะหวอย อ่อนเพลีย, หมดแรง สะออน ปลื้ม, น่าชมเชย
สะเดิด สะดุ้ง 
เสี่ยว เพื่อน, มิตร
สีแหล่ สีน้ำเงินอมม่วง 
สีบัว สีชมภู (ภาษาอีสานตอนบน)
โสเหล่ วิพากษ์ วิจารณ์ ส่ง กางเกง
ส่วง สีข้าง
สำมะปิ จิปาถะ
ส้นน่อง ส้นเท้า 
สาด เสื่อ
โสเหล่ วิพาก วิจารณ์ 
ส่ง กางเกง
เสื่อหมากกะแล่ง เสื้อคอกระเช้า 
เส้า หยุด, เลิก, ระงับ
สำมะปิ จิปาถะ
สุกยู้ ผลักดัน
สำมะแจะ สาระแน . .


ห่อย ห้อย,แขวน 
ห่าว อาการสดชื่น,ตื่นตัว
หมากอึ ฟักทอง . .
ห้าง พัง,หย่าร้าง 
หน่าลา อาการเสียหน้า
ห้อน ร้อน . .



อีเกิ้ง ดวงจันทร์ 
อัง คับแคบ

ฮ. - - 

โฮมตุ้ม ชุมนุม,รวมตัว
ฮู้เมือ รู้สึกตัว
ฮัก รัก 
เฮา เรา
ฮำฮอน อาลัยอาวรณ์ 
ฮ้าย ดุ, ดุดัน, ต่อว่า ต่อขาน
อยากหัว น่าขัน น่าหัวเราะ 
เฮ็ดงาน ทำงาน
แฮง แรง แฮกหมาน ประเดิม